ปัจจุบันหากใครต้องการค้นหาข้อมูลเพื่อทำรายงานในวิชาต่างๆ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องค้นหาข้อมูลเหล่านั้นด้วย Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาต่างๆที่ได้จาก Google นี้ก็มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูลที่ค้นหา (ก็ยังดีกว่าไม่มี แหละ)
เดี๋ยวนี้เค้ามีเว็บไซด์นึงที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ โดยมองตนเองเป็นเหมือนดังห้องสมุด ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการข้อมูลที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาหลักเพื่อการทำรายงานที่มีประสิทธิภาพ หากใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปอ่านข้อมูลได้ที่เว็บ ด้านล่างได้เลยนะครับ ^^
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เว็บห้องสมุด เพื่อข้อมูลการศึกษา
วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Technology Today กับ RFID (3)
RFID เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า แท็กส์ (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต (Modulation) กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับ
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบ RFID กับระบบกับระบบบาร์โค้ด (Barcode System) และระบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card System)1. ระบบบาร์โค้ด (Barcode System): บาร์โค้ดจัดเป็นระบบ Automatic ID ที่ได้รับความนิยม และนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากต้นทุนต่ำ ดังนั้นจึงมีการนำมาประยุกต์เข้ากับงานหลายๆ ด้าน ผู้ใช้ยังคงที่จะต้องป้อนข้อมูล หรือมีโปรแกรมบางส่วนในการรองรับการทำงานกับระบบบาร์โค้ดนั้นๆ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วระบบบาร์โค้ดเป็นเพียงการนำเอาระบบ Automatic ID เข้ามาช่วยในการอินพุทข้อมูลเพื่อความรวดเร็ว และแม่นยำโดยใช้เวลาที่น้อยลง เป็นการทำงานแบบ Manual
ข้อจำกัดของบาร์โค้ด (Barcode System): จัดเก็บข้อมูลได้จำกัด เสียหายง่าย หรือมีปัญหาระหว่างการอ่าน เมื่อ บาร์โค้ดเลือนลาง เป็นต้น
2. ระบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card System): ส่วนระบบ Auto ID เป็นระบบที่อยู่ในรูปแบบบัตรต่างๆ โดยใช้หลักการเอาแถบแม่เหล็กหรือไมโครชิปในการอ่าน/เขียนข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้มาก มีความปลอดภัย
ข้อจำกัดของสมาร์ทการ์ด (Smart Card System): เนื่องจากเป็นแถบแม่เหล็กวิธีการอ่านข้อมูลจากสมาร์ทการ์ดจะต้องใช้วิธีสัมผัสทำให้เกิดการสึกหรอของเครื่องอ่าน
เราจึงได้มีการนำระบบ RFID มาใช้เพื่อขจัดปัญหาต่างๆ ที่เป็นข้อเสียของ 2 ระบบดังกล่าวนี้
3. ระบบ RFID : สำหรับ RFID tags หรือป้ายที่ติด RFID นั้นจะถูกออกแบบให้สามารถอ่านได้จากระยะห่างหลายเมตรโดยไม่ต้องนำมาวางไว้ใกล้กับเครื่องอ่าน และไม่ต้องวางให้ตรงกับหัวอ่าน RFID สามารถใช้ได้ระยะไกล (ประมาณ 20 ฟุต สำหรับอุปกรณ์ที่มีความถี่สูง) ถ้าสมมติว่าเรานำ RFID มาใช้แทนบาร์โค้ดเวลาซื้อของแล้ว สินค้าแต่ละชิ้นจะมี RFID กำกับอยู่ถ้าเราใส่ถุงแล้วเดินผ่านเครื่องอ่าน อุปกรณ์ก็จะทำการอ่านและคำนวณราคาของรายการสินค้าทั้งหมดให้ได้ทันทีเลย ซึ่งต่างจากการใช้บาร์โค้ดที่จะต้องอ่านทีละรายการ ดังนั้น RFID จึงต่างจากระบบอ่านข้อมูลอื่นเช่น Barcode หรือ Smart Card ตรงที่ระบบบันทึกข้อมูลอื่นต้อง “สัมผัส” แต่ RFID เป็น Contact less นอกจากนั้นตัว Tag ของระบบ RFID ที่ติดตามตัวสินค้าสามารถบรรจุ ไมโครชิพเพื่อเก็บข้อมูล มีหน่วยความจำมากกว่ารหัสแถบสี ของบาร์โค้ด จะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลสินค้าอื่น RFID นอกจากเก็บข้อมูลได้เยอะกว่า ป้องกันขโมยได้ และสามารถคิดเงินได้รวดเร็ว RFID จึงสามารถเข้ามาทดแทนเทคโนโลยีบาร์โค้ดได้ การใช้งานสามารถนำไปใช้ได้หลายลักษณะ
จุดเด่นของระบบ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลได้แบบไร้สาย ไร้แสง และไร้สัมผัส และสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิป
คุณลักษณะเด่นของระบบ RFID สามารถแบ่งได้เป็น 6 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ระบบการอ่านอัตโนมัติ (Automation reading without human intervention) ระบบนี้จะแตกต่างจากระบบบาร์โค้ด โดยไม่จำเป็นต้องใช้คนในการดำเนินการ หรืออยู่ในกระบวนการผลิต แต่ถ้าเป็นระบบ RFID เราสามารถประยุกต์กับตัวเซ็นเซอร์ในการอ่านหรือเขียนเข้าระบบอัตโนมัติ โดยจะลดปัญหาของคนดำเนินการ หรือความผิดพลาดจากคนได้
2. การอ่านเขียนแบบไม่มีการสัมผัส (Contact free reading) ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลจาก ID Tags สามารถทำได้เมื่อตัวควบคุม และ ID Tags อยู่ในระยะการสื่อสารซึ่งขึ้นอยู่กับสเป็คของแต่ละรุ่น
3. อ่านค่าจาก Tags หลายตัวในเวลาเดียวกัน (Multiple tags can be read simultaneously) การใช้งานระบบ RFID ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าใน Tags หลายตัวในเวลาเดียวกันได้ เพราะว่าระบบจะส่งคลื่นความถี่วิทยุออกไปอ่านค่าใน Tags จะใช้เวลาสั้นมากในการอ่านค่า และเก็บผลลัพธ์
4. สามารถจุข้อมูลขนาดใหญ่ได้ใน Tags (High capacity data Storage) เมื่อเปรียบเทียบกับบาร์โค้ดระบบ Tags ของ RFID สามารถเก็บได้มากกว่า 100 เท่า โดยจะอาศัยหน่วยความจำใน IC ที่บรรจุอยู่บน ID Tags
5. สามารถนำมาเขียนข้อมูลใหม่ได้ (Rewritable data) ข้อมูลที่บรรจุในชิพ IC บน ID Tags สามารถนำมาเขียนทับใหม่ได้ทำให้นำ ID Tags มาใช้งานซ้ำใหม่ได้
6. มีความทนทาน (Soil-resistant) ตัว ID Tags จะมีความทนทานต่อคราบสกปรก น้ำมัน และสารเคมี ความร้อน และสามารถสื่อสารได้แม้ว่าจะถูกคลุมด้วยคราบน้ำมัน หรือสิ่งสกปรก โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละรุ่นของตัวควบคุม
ข้อจำกัดของ RFID
1. การอ่าน Tag ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดอยู่ในเรื่องของเนื้อวัสดุคลื่นที่ใช้หากใช้กับสินค้าพวกเหล็กก็จะ block สัญญาณ หรือวัสดุบางประเภทก็จะดูดกลืนสัญญาณ อีกทั้งตำแหน่งการอ่านของ Reader นั้นยังมีผลอย่างมากต่อการใช้ RFID เช่น หากเอา Tag ติดที่ Pallet ก็จะต้องออกแบบ Reader แบบ Gate หรือไม่ก็เป็นแบบติดที่ Forklift หรืออาจเป็น Handheld ให้พนักงานได้ใช้ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นราคาก็สูงขึ้นตามศักยภาพด้วยการชนกันของเครื่องอ่านและป้ายชนกัน การชนกันของเครื่องอ่านเกิดขึ้นเมื่อสัญญาณจากเครื่องอ่านตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมีการซ้อนทับกันของสัญญาณ ป้ายจะไม่สามารถตอบสนองต่อการอ่านได้พร้อมๆ กัน ระบบจะต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่จะไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว ป้ายชนกันเกิดขึ้นเมื่อมีป้ายหลายๆ อันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แต่เนื่องจากการอ่านนั้นทำได้รวดเร็วจึงเป็นการง่ายที่ผู้ผลิตพัฒนาระบบที่แน่ใจได้ว่าป้ายจะตอบสนองต่อการอ่านทีละครั้ง
Technology Today กับ RFID (2)
องค์ประกอบของระบบ RFID
ส่วนแรก คือฉลากหรือป้ายขนาดเล็กที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุ เรียกว่า Tag หรือ Transponder
ทำหน้าที่ส่งสัญญาณหรือข้อมูลที่บันทึกอยู่ในแท็กส์ตอบสนองไปที่ตัวอ่านข้อมูล การสื่อสารระหว่างแท็กส์และตัวอ่านข้อมูลจะเป็นการสื่อสารกันโดยอาศัยช่องความถี่วิทยุผ่านอากาศ การเข้ารหัส (Crypts Unit) ส่วนตอบรับสัญญาณร้องขอ (Answer to Request) ส่วนควบคุมและประมวลผลทางคณิตศาสตร์ (Control & Arthritic Unit) ซึ่งแท็กส์อาจมีรูปร่างได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน โดยอาจมีรูปร่างเหมือนบัตรเครดิตในการใช้งานทั่วไป หรือเล็กขนาดไส้ดินสอ เพื่อฝังเข้าไปใต้ผิวหนังสัตว์ในกรณีนำไปใช้ในงานปศุสัตว์ ใช้ติดกับเครื่องจักรขณะทำการติดไว้กับสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วไปเพื่อป้องกันขโมย
นอกจากการแท็กแบ่งจากชนิดที่ว่ามาแล้วแท็กก็ยังถูกแบ่งประเภทจากรูปแบบในการใช้งานได้เป็น 3 แบบ คือ
1. แบบที่สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read-write)
2. แบบเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ (Write-One, Read-Many หรือ WORM)
3. แบบอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-Only)
ส่วนที่สอง ก็คืออุปกรณ์สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในแท็กส์ มีชื่อเรียกอย่างรวม ๆ ว่า ทรานสซิฟเวอร์ Reader หรือ Interrogatorหน้าที่สำคัญของตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ก็คือการรับข้อมูลที่ส่งมาจากแท็กส์ แล้วทำการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล และทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลผ่านเข้าสู่กระบวนการต่อไป ตัวอ่านข้อมูลที่ดีต้องมีความสามารถในการป้องกันการอ่านข้อมูล
Technology Today กับ RFID (1)
RFID (Radio Frequency Identification) คือ ระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งส่งกำลังด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แทนการสัมผัสทางกายภาพ โดยมีการคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระดับเดียวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ , อี-คอมเมิทสร์(e--commerce) หรือแม้กระทั่งระบบสื่อสารไร้สาย
RFID เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกรรมต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบกระบวนการผลิต บริหารเส้นทางการส่งสินค้า ไปจนถึงการดูแลร้านค้าปลีกไปจนถึงมือผู้บริโภค ผู้ที่สามารถควบคุมระบบขนส่ง(Logistic) และสายการผลิต (Supply chain) จะมีอิทธิพลต่อการค้ารูปแบบใหม่ เนื่องจากต่อไปเรื่องต้นทุน ,ความรวดเร็ว และความถูกต้อง จะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขัน และการอยู่รอดในตลาดโลก เนื่องจากสินค้าจะต้องสามารถตรวจสอบได้ถึงที่มา ทั้งกระบวนการผลิต ตลอดจนถึงวิธีการผลิต โดยไม่เว้นแม้แต่สินค้าการเกษตร เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่จะถูกส่งออกสู่ตลาดโลก จะต้องสามารถตรวจสอบถึงวิธีการเลี้ยง การให้วัคซีน การป้องกันโรคระบาด เพื่อผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและคุณภาพ
สิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่มาของสินค้า ผู้ผลิต สามารถบอกปลายทาง วันหมดอายุ ฯลฯ ทั้งหมดจะรวมอยู่ในเทคโนโลยีที่ถูกคาดการณ์ว่าเป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน นั่นคือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า "RFID"
โดยRFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตาม และบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนําไปฝังไว้ใน หรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตําแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อนทํางานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่าน และเขียนข้อมูลนั่นเอง
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
10 strategic technologies สำหรับ 2009
บริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner) เผยสิบเทคโนโลยีที่มีความสำคัญทางกลยุทธ์ในปี 2009 และคาดว่าจะส่งผลสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้าด้วย เทคโนโลยีทั้งสิบรายการนี้ประกอบไปด้วย
1. Virtualization
2. Cloud computing
3. Servers–beyond blades
4. Web-oriented architectures
5. Enterprise mash-ups
6. Specialized systems
7. Social software and social networking
8. Unified communications
9. Business intelligence
10. Green IT
รายละเอียดหรือความหมายของเทคโนโลยีแต่ละอย่าง ดูได้จากลิงค์ด้านล่างนะครับ ก็น่าดีใจที่ผลการจัดอันดับนี้จะทำให้งาน BI ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอีก แต่ผมแปลกใจว่า ทำไมเพิ่งมาติดอันดับเอาปีนี้ ถ้าติดอันดับมาเมื่อซัก 3-4 ปีก่อนก็จะไม่น่าแปลกใจเลยครับ ในบรรดากลุ่มเทคโนโลยีที่ำกล่าวมาข้างต้น ผมว่า business intelligence น่าจะอยู่ในกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดเลยนะนี่ คือมีความสำคัญมาโดยตลอด และก็คาดว่า จะยังคงได้รับความสำคัญต่อไปอีกจากการจัดลำดับในครั้งนี้
วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ทำไมเทคโนโลยีถึง Fail - Why Technology alway Fail
ปัจจุบัน Technology มีบทบาทต่อการดำรงชีวิต การทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องนำ Technology มาใช้เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ จากการที่ประเทศไทยกลายเป็น Sandwich ที่อยู่ตรงกลางระหว่างการมีคุณภาพที่ดี แต่ก็ถูก Block ด้วยสายตาของตลาดโลกว่าสินค้าของไทยก็งั้นๆ ไม่น่าจะสู้สิ่งที่ผลิตมาจากประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศแถบยุโรปได้ แม้จะพยายามให้เป็นผู้ผลิตที่สามารถทำต้นทุนให้ต่ำ ก็ทำได้ไม่มากเท่าประเทศจีน ไทยจึงต้องอาศัยการคิดค้น Technology หรือ Innovation มาใช้เพื่อให้กลายเป็นผู้นำในตลาดโลก
ซึ่งการที่ไทยจะใช้กลยุทธ์ด้าน Technology และ Innovation เป็นการผลักดันให้เป็นผู้นำในตลาดได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วย
1. กำหนดไว้ใน Business Strategy ว่ามันคืออะไร และสำรวจตัวเองว่าเราอยู่ใน Business แบบไหน เราจะทำอะไรต่อ ความต้องการของเราคืออะไร และจุดแข็ง จุดอ่อนของบริษัทเราคืออะไร
2. กำหนด Technology Strategy Development โดยทำการหา Technology ที่ต้องการ และทำการประเมินตนเองว่าตอนนี้ เราอยู่ในจุดไหนเรามีความสามารถอะไรบ้างกับ Technology ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตสิ่งที่เราต้องการจะมี และต้องการจะเป็นคืออะไร มีส่วนใดที่ขาดหายไปบ้าง และส่วนนั้นมันคืออะไรเพื่อทำการหา Gap Analysis และทำการปิด Gap นั้น
3. ทำการหา Technology ที่เหมาะกับองค์กร ซึ่งอาจทำได้โดยทำ Technology Scanning คือการหา Technology ด้วยการ Search ใน Google หรือไปตามงาน Exhibition หรืองาน Trade Show ต่างๆ หรือการเก็บข้อมูลเพื่อทำนายว่าในอนาคตแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยปัจจัยที่จะมาช่วยในการวิเคราะห์ และเลือก Technology คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ, คู่แข่งขัน, วิธีในการตัดสินใจ, ตลาด และกลยุทธ์ที่องค์กรจะใช้ เป็นต้น
4. เมื่อกำหนดปัจจัยได้แล้ว จึงทำการจัดลำดับความสำคัญของ Technology ว่า Technology ที่จะนำมาใช้อะไรที่จำเป็นจะต้องมี หรือ Technology ที่จะนำมาใช้ควรมีสามารถใช้ได้กับ Innovation ที่องค์กรจะทำการ Create ในอนาคตได้ด้วยหรือไม่
5. นำ Technology ที่ได้มาใช้กับองค์กร พร้อมทั้งทำการ Adaptation ร่วมกับ Implementation ไปด้วย เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดเป็น Technology Fit โดยทำการปรับ Technology ทั้งใหม่ และเก่าให้เข้ากัน โดยให้ Technology เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน
6. เมื่อมีความชำนาญเกิดขึ้น ลำดับต่อไปคือการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการ Move จาก Imitator ให้กลายเป็น Innovator ให้ได้
ซึ่งการที่จะทำให้ Innovation ของเราสำเร็จในตลาดจนเป็นผู้นำกลายเป็น Innovator ได้นั้น จะมี Key Success Factor จะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้, องค์กรต้องไม่หยุดนิ่ง ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, มีการ Open Innovation คือการให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในนวัตกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการออกแบบความคิดเห็นการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หรือการร่วมกัน Vote Design ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
แล้วทำไมองค์กรถึงต้องขวนขวาย และโหยหาการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็เนื่องจากการที่เป็น Innovator นั้น มีข้อได้เปรียบหลายด้าน เช่น
- เมื่อเข้าไปเป็นเจ้าแรกสามารถตั้งราคาได้ก่อน เข้าตลาดได้ก่อน มีคนจำได้มากกว่า (First Mover Advantage)
- ทำให้มี Market Position ที่ดีกว่า ในด้านของการผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ววาง Position ให้กลายเป็น Premium
- เมื่อเข้าเป็นเจ้าแรก ก็สามารถ Set Standard ให้แก่อุตสาหกรรมนั้นๆ ได้
- เมื่อมีการ Set Standard ก็จะสามารถสร้าง Barrier to entry ได้
- สามารถสร้างเครือข่ายของผู้ใช้ สร้างชุมชนได้เร็วกว่า
- ทำให้ลูกค้าที่จะทำการ Switch Brand เปลี่ยนไปใช้คู่แข่งเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากเราเข้าถึงตัวผู้บริโภคก่อน สร้างชุมชนได้ก่อน
แต่ในขณะเดียวกัน Innovation ก็มีข้อเสียเปรียบในหลายๆ ด้าน ซึ่งสามารถนำไปสู่การมีนวัตกรรมที่ล้มเหลวในบริษัทนั้นๆ เนื่องจาก
- การที่จะเป็นผู้นำในอุตสากรรมจะต้องมีการลงทุนใน Technology และ Innovation ที่สูง เนื่องจากต้องใช้ Technology มาวิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการมีทีมวิจัยที่มีความสามารถจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมาก ซึ่งเมื่อวิจัยออกมาก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผลการวิจัยนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะมันเป็นการลองผิดลองถูก ซึ่งถ้าผลการวิจัยที่ออกมามันไม่ Work จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่เกิดประโยชน์
- ครั้นเมื่อมีการวิจัยออกมาจนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วก็เสี่ยงในเรื่องของมีผู้เลียนแบบในสินค้านั้นๆ ทำให้ไม่สามารถ เก็บเกี่ยวกำไรของผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่
- หรือเมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้ว ผู้บริโภคกลับยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เช่นกรณีของ บริษัท Motorola ซึ่งพยายามที่จะผลักดันให้มีการติดต่อสื่อสารได้จากทุกแห่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเลทราย Sahara หรือยอดเขา Everest ซึ่งต้องใช้เงินจำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และติดตั้งดาวเทียมจำนวน 88 ดวงรอบโลก ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการใช้โทรศัพท์จากเกาะที่อยู่ไกลๆ หรือจากขั้วโลกเหนือ และพบว่าความต้องการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จากต่างประเทศมีเพียงเล็กน้อย และที่แย่ที่สุดคือโทรศัพท์มีขนาดใหญ่เทอะทะ เพราะต้องรองรับความซับซ้อนของอุปกรณ์ไร้สาย และมีต้นทุนที่สูงมากถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ค่าบริการสูงตามไปด้วย ซึ่งบริษัท Motorola ประสพความสำเร็จกับธุรกิจนี้ในเวลา 10 ปีต่อมา
- ข้อเสียเปรียบในด้านของการเป็นผู้นำในตลาดทำให้ตกลงในกับดักที่ตนได้สร้างขึ้นไว้ เช่นกรณีของบริษัท Motorola บริษัทเกือบต้องล้มละลายเนื่องจากบริษัทยังต้องมีต้นทุนในการบำรุงรักษาดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกอีกเดือนละ 2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อ Technology นี้ตก Trend ไป Motorola ต้องเป็นผู้รับผิดชอบนำดาวเทียมออกจากวงโคจร และทำลายทิ้งเพื่อความปลอดภัย เป็นเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงมากต่อมวลมนุษยชาติ ในเรื่องของเศษซากดาวเทียมหากตกลงสู่พื้นโลก อาจทำให้ประเทศรัสเซียเข้าใจผิดว่าโดนโจมตี อาจทำให้เกิดสงครามโลกได้
เมื่อเห็นข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบของการมีนวัตกรรมแล้ว พบว่ามีข้อได้เปรียบอยู่มาก ซึ่งในด้านข้อเสียเปรียบนั้น บริษัทต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ข้อเสียเปรียบเหล่านั้นหมดไป จึงเกิดคำถามต่อมาว่าแล้วจะทำอย่างไรจึงจะทำให้องค์กรของเรามีนวัตกรรม
1. ต้องได้รับความเห็นชอบจาก Top Management โดยการกระทำทุกขั้นตอนต้องได้รับการอนุมัติ เช่น การจะให้องค์กรมีความเป็นผู้นำในนวัตกรรมนั้น ฝ่าย R&D ต้องเป็นพวก Think outside the box แต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นด้วย ให้ R&D คิด และวิจัยแค่ภายในห้องสี่เหลี่ยม มันก็ไม่สอดคล้องกัน และการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ จะต้องใช้เงินเป็นตัวสนับสนุนค่อนข้างมาก ถ้าผู้บริหารไม่เห็นด้วย อาจจะไม่ให้งบในการวิจัย ก็จะทำให้งานไม่ก้าวหน้าได้
2. บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง ในการที่องค์กรจะเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำในนวัตกรรมนั้น ต้องได้การสนับสนุนในทุกภาคส่วน ไม่ใช่ค่ายฝ่าย R&D เท่านั้น ทุกคนต้องร่วมกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้น
3. มีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในความรับผิตชอบของการดำเนินงาน พร้อมทั้งมีความรวดเร็วในการทำงาน สมกับที่ต้องการเป็นผู้นำในนวัตกรรมในอุตสาหกรรมนั้นๆ
4. มีการสนับสนุนให้เป็น Entrepreneurial Culture คือวัฒนธรรมในองค์กรที่สนับสนุนให้พนักงานเปรียบเสมือนเป็นผู้กอบการ กล้าที่จะเสี่ยง ในการให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงานจะทำให้พนักงานทำงานได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น
5. ลดความซ้ำซ้อนในองค์กร คือการที่ระบบการทำงานต้องมีหลายขั้นตอน เช่น ทำ A เสร็จ ต้องไปให้หัวหน้าเซ็นต์ เมื่อทำไปถึงขั้น B เสร็จ ต้องไปให้หัวหน้าเซ็นต์อีกครั้ง จะพบว่ามีการทำงานที่หลายขั้นตอนทำให้ได้งานที่ล่าช้า เพราะฉะนั้นบริษัทจึงควรลดความซ้ำซ้อนของการทำงานเพื่อให้บริษัทมีความว่องไวต่อการดำเนินธุรกิจ
6. ต้องให้ความสะดวกสบายแก่พนักงานพอสมควร เช่น จะให้พนักงาน Think outside the box ก็จัดสถานที่ทำงานค่อนข้างอิสระ หรือมีระบบ communication ที่สะดวกสบาย
7. Interconnectedness เช่น จากเดิมมีการสื่อสารจาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จาก 3 ไป 4 ก็เปลี่ยนมาเป็นจาก 1 ไป 4 ได้เลย เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
8. มีระบบการบริหารงานแบบ System Openness
นอกจากนี้ องค์กรควรจัดกระบวนการจัดการในการพัฒนานวัตกรรมขององค์กรโดยการ
- ค้นหา และตรวจสอบสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกขององค์กร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องมีการค้นคว้าวิจัย ศึกษาพฤติกรรมคู่แข่ง ศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาช่องทางใหม่ให้แก่องค์กร
- การคัดเลือกเชิงกลยุทธ์ ที่เลือกจากชุดของนวัตกรรมที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จที่ได้จากการตรวจสอบ และค้นหาในขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรพร้อมที่จะทุ่มเททรัพยากรในการพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นความท้าทายอย่างมากขององค์กรในการเลือกสิ่งที่องค์กรมีอยู่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการสร้างความสามารถทางการแข่งขัน
- แหล่งที่มาของทางเลือก เป็นการเลือกใช้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่ได้จากทำวิจัยและพัฒนาหรือการ ได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์
- การนำเอานวัตกรรมนั้นไปปฏิบัติจริง เป็นการเปลี่ยนจากแนวความคิดผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการสู่ตลาด หรือเป็นกระบวนการใหม่ๆ ภายในองค์กร
- การเรียนรู้จากการที่ลงมือปฏิบัติไปแล้ว ว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขและบริหารจัดการว่าต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้กระบวนการดีขึ้น
แม้จะมีผู้แนะนำอยู่แล้วว่าองค์กรควรดำเนินงานอย่างไร ควรเดินไปทางไหนเพื่อที่จะได้เป็นผู้นำแห่งด้านนวัตกรรม แต่ท้ายที่สุดก็ยังมีหลายองค์กรที่ล้มเหลวกับการนำนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่เกิดจาก
1. Culture - Culture ขององค์กร ถ้าวัฒนธรรมในองค์กรเป็นระบบการทำงานที่เฉื่อยชา แม้จะออกมาเป็นนโยบายว่าบริษัทมุ่งสู่การเป็นผู้นำในนวัตกรรม แต่ถ้ายังมี Culture ในการทำงานแบบเชื่องช้าก็ไม่สามารถก้าวมาเป็นผู้นำในตลาดด้านนวัตกรรมได้ หรือแม้กระทั่งถ้าไม่ได้การสนับสนุนจากพนักงาน หรือผู้บริหารเท่าที่ควรก็มีโอกาสทำให้ล้มเหลวได้
2. Ownership - ผู้ที่เป็น Manager ต้องให้ความสำคัญกับ Idea ต่างๆ ของพนักงาน พร้อมทั้งยอมที่จะเสียสละกับ Resource ที่หายาก เช่น เวลา และเงินในการคิดค้นแต่ละ Project ถ้า Manager ไม่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แล้วนวัตกรรมก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Manager ต้องมีความรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ ด้วย
3. Process – การสร้างแนวความคิดใหม่ๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้เวลา และทุ่มเททรัพยากรต่างๆ ให้กับบุคลากร เครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ต้องส่งคนไป Train ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ ต้องมี Learning Curve ใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาเป็นอย่างมาก แต่องค์กรต้องยอมลงทุนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น ถ้าพบว่านวัตกรรมที่องค์กรกำลังดำเนินงานอยู่นั้นไม่น่าจะไปรอด องค์กรต้องกลับมาศึกษาว่าเพราะอะไร ซึ่งเหตุผลอาจเป็นเพราะบุคลากรไม่เพียงพอแต่ละคนมีงานที่ Overload หรือต้องดูด้วยว่าบุคคลนั้นชอบความท้าทายหรือไม่ ในขณะเดียวกันต้องให้บุคลากรพวกนี้มีอิสระต่อการคิด พร้อมทั้งเลือกคนให้เหมาะกับงานด้วย
4. Resource – หลายครั้งที่ CEO กล่าวในที่ประชุมว่าองค์กรเราต้องการนวัตกรรมมากกว่านี้ แล้วก็เปลี่ยนหัวข้อไปยังวาระอื่นๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว Innovation ต้องใช้เวลา ความคิด และเงิน ผู้ที่เป็นผู้คิดค้น Innovation ต้องการความเป็นอิสระ และเวลาในการคิด และการทำอะไรที่แปลกใหม่ที่พอจะมีความเป็นไปได้ในธุรกิจนั้นๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องการแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อมาช่วยในการทำงาน Innovation เป็นเรื่องของอนาคตก็จริง แต่มันก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนในด้านต่างๆ ของวันนี้
5. Strategy – การให้คนในองค์กร Think out of the box ความคิดไม่มีกฎระเบียบ ไม่มีเขตแดนเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงทำให้เกิด Idea ขึ้นมากมาย แต่ในบาง Idea ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง อาจเป็นเพราะมีราคาที่สูงมาก แล้ว Idea ไหนล่ะ ที่จะสามารถใช้ได้จริง และมีราคาที่เหมาะสมด้วย บุคลากรควรที่จะใช้กลยุทธ์ที่มีอยู่แล้วในขององค์กร เพื่อผลักดันให้กลายเป็น Core Competency ของบริษัท และทำให้เกิดนวัตกรรมอย่างเหมาะสม
6. Fuzzy Front End – มีหลาย Idea ที่ซ่อนอยู่ในองค์กรแต่จะทำอย่างไรเพื่อที่จะได้ Idea ที่แปลกใหม่จริงๆ ซึ่ง Idea ที่แปลกใหม่เหล่านี้จะได้มาจากการมองตนเอง, มองคู่แข่ง, การเข้าถึงผู้บริโภค, การวิเคราะห์ Supplier, การศึกษาเรื่องประชากร, แนวโน้มของตลาด, เศรษฐกิจ, การเมือง และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง Innovation จะเกิดจากการระดมความคิดเห็นของคนในองค์กร การรวบรวมความคิดต่างๆ และการทุ่มเทเต็มที่กับ Project นั้นๆ หรืออาจเป็นช่วงเปลี่ยน Technology เช่น จากจอโทรทัศน์ธรรมดา เปลี่ยนมาเป็นจอ LCD หรือ Plasma ซึ่งมีข้อสงสัยว่าจอแบบไหนที่จะเข้ามาสู่ตลาดได้ก่อน นวัตกรรมทั้ง 2 ชนิดจะต้องรีบ Group ผู้ผลิต และผู้บริโภคให้ได้มาก เพื่อ Dominate ตลาดให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น และทำการลดราคาให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นเจ้าแห่งตลาดได้เร็วที่สุดด้วย
7. Diversity – เป็นการดีที่จะมีความหลากหลายทางความคิด เช่น บริษัทอาจตั้งทีมงานที่ทำงานกันคนละแผนกเพื่อให้เกิดการมองต่างมุม และอาจช่วยในการจัดการธุรกิจได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งในทีมอาจจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างอายุ เป็นต้น
8. Criteria & Metrics – ควรมีการสร้างมาตรฐานการทำงาน หรือมาตรฐานของสินค้า เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการบริการอยู่สม่ำเสมอ
9. Training & Coaching – ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานในเรื่องของนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถตลอดเวลา เพราะนวัตกรรมจะเกิดได้จากการคิดนอกกรอบ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้เกิดขึ้น
10. Idea Management System – องค์กรต้องมีระบบการจัดการความคิดที่ดีพอ นั่นหมายถึงต้องมีกรอบทางความคิดพอสมควร เช่น เมื่อคิด Idea ออกมาแล้วต้องมีความเป็นไปได้ที่จะขายได้ มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ได้จริง พร้อมทั้งมีราคาที่ สมเหตสมผล
11. ขั้นตอนการทำ Innovation จาก Innovation Funnel จะเห็นได้ว่ามี Idea ที่เกิดขึ้นมากมายบริเวณต้นกรวย ซึ่ง Idea เหล่านั้นจะผ่านการ Screening คือผ่านการ Screen ว่าแนวความคิดนั้นสามารถมีความเป็นไปได้หรือไม่ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดจะเป็นอย่างไร ปัจจัยอะไรบ้างที่ใช้ในการ Screen ขั้นตอนต่อมาคือ การทำ Prototyping หรือการทำตัวอย่างสินค้าเพื่อเป็นการบอกถึงความเป็นไปได้ในการใช้สินค้า เนื่องจากสินค้าบางประเภทมีรูปแบบที่สมบูรณ์ แต่เมื่อผลิตออกมาใช้จริงๆ กลับไม่ได้ตามสิ่งที่คาดหวังไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ Product Development เมื่อได้สินค้าออกมาแล้ว ต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อใช้ และกลายเป็นเจ้าของตลาดในที่สุด
12. นวัตกรรมที่ตนสร้างเป็นเพียงความตื่นเต้นชั่วครู่ชั่วยามของผู้บริโภค สักพักก็จางหายไป องค์กรต้องคำนึงถึงการบริโภคแบบยั่งยืน คือสามารถเป็นการผลิตและการบริโภคที่สามารถตอบสนองความจำเป็นของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้สภาวะที่มีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
13. พนักงานมีความเข้าใจผิดในนวัตกรรมว่า ต้องเป็นสินค้าที่ไฮเทคเท่านั้น เป็นการกระทำเฉพาะบางแผนก หรือบางอุตสาหกรรมเท่านั้น จริงๆ แล้ว เป็นสิ่งที่คนทั้งองค์กรต้องช่วยกัน
14. คนกลัวการเปลี่ยนแปลง เช่นในการทำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทำให้คนกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาท และความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดลง จึงทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งๆ ที่มีประโยชน์มากมาย
15. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ล้าหลังที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ
16. การให้ความรู้อย่างไม่กว้างขวาง ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคซึ่งจะก่อให้เกิดคนบางพวกที่ยอมรับเทคโนโลยี กับคนบางพวกที่ไม่ยอมรับเทคโนโลยีนี้
จะเห็นได้ว่ามีอุปสรรคมากมายที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวในนวัตกรรม องค์กรจะทำอย่างไรจึงจะสร้าง Innovation ให้คงอยู่ได้
- ขจัดความกลัวออกไป และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับการลองทำสิ่งใหม่ๆ เช่น ในองค์กรที่เป็นเจ้าของตลาดในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เนื่องจากส่วนมากจะคิดว่าจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่คุ้มกับสิ่งที่จะได้มา แต่ในองค์กรเล็กๆ ที่กล้าที่จะฉีกแนวทางการตลาดกลับเติบโตได้ ดั่งบริษัท 3M ที่แต่ก่อนเป็นบริษัทเล็กๆ แต่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นเจ้าตลาดในปัจจุบันได้
- กำหนดให้ Innovation เป็นส่วนหนึ่งในการวัด Performance ในแผนก R&D การวัด Performance คือผลิตภัณฑ์ที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าเป็นแผนก Account การวัด Performance ก็อาจจะเป็นกระบวนการทำงานที่เร็วขึ้น มีความสะดวกสบายพร้อมทั้งมีความถูกต้องมากขึ้น เป็นต้น
- จัดทำเอกสารของกระบวนการ Innovation และจัดอบรม เพื่อเป็นการ Make Sure ว่าทุกคนจะเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
- องค์กรควรปรับให้พนักงานมีช่องทางในการคิดค้นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ให้พนักงานปฏิบัติเป็น Step 1 2 3 4 เท่านั้น แต่ต้องให้พนักงานถลองค้นหาแนวทางใหม่ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
- องค์กรต้องแน่ใจว่าทุกคนเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรว่าจะเป็นองค์กรแห่ง Innovation เพื่อให้แต่ละคนเดินไปให้ทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งมีระบบที่รองรับความคิดเห็นของคนในองค์กร
- สอนพนักงานให้มองหาทางเลือกใหม่ๆ จากสิ่งแวดล้อม, จาก Technology และที่สำคัญมองลูกค้าว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการที่แท้จริงคืออะไร
- สอนให้พนักงานให้มีความหลากหลายทางความคิด ทั้งในด้านของ แนวความคิด ประสบการณ์ มุมมอง และความชำนาญต่างๆ ซึ่งความหลากหลายทางความคิดเหล่านี้ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง Innovation ด้วย
- สร้างมาตรฐานของกระบวนการทางความคิด แต่ไม่ควรให้มีข้อจำกัดมากเกินไปเพราะจะมีผลต่อความหลากหลายทางความคิด และการอิงกับอดีตมากไปจะไม่เปิดโอกาสในความหลากหลายทางความคิด
- ให้ความสำคัญกับทีม R&D เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือต่างๆ และทัศนคติที่แตกต่างจากแผนกอื่นๆ โดยให้มีการฝึกอบรมจึงจะประสพความสำเร็จได้
- มีการพัฒนาระบบการจัดการทางความคิด เช่น ให้การสนับสนุน Idea ที่มีความเป็นไปได้
ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าการที่ Innovation มัน fail เพราะ ส่วนมากการที่บริษัทเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ มักจะเก็บกำไรเกินควร ซึ่งผู้บริโภคอาจมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนักของ Innovation หรืออาจเห็นคุณค่าแต่สู้ราคาไม่ไหวต้องรอเป็นระยะเวลาสักพักให้ราคามันตกลงมาก่อนจึงจะเข้าไปจับจองเป็นของตนเอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็เข้ามา Copy and Development ไปแล้ว ทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าเพราะไม่ต้องเสียค่า Research and Development การคาดการณ์กำไรของบริษัทจึงไม่เป็นไปตามที่หวัง หรืออาจเป็นเพราะระหว่างจุดเปลี่ยนของ Technology เกิด Fuzzy Front End ทำให้ไม่ทราบว่าแนวโน้มตลาดจะกลายเป็นยังไง ซึ่งถ้าเราสามารถทำให้ Radical Innovation เกิด ก็จะกลายเป็นผู้นำในตลาดได้ ซึ่งต้องทำการเข้าถึงผู้บริโภคให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายให้ไวที่สุดด้วย ซึ่งตัวอย่างของนวัตกรรมที่ทำให้โลกได้ประโยชน์มากที่สุด โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า น่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าของโทมัสแอลวาเอดิสัน เพราะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาได้ตรงตามความต้องการของตลาด และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางด้วย
สรุป
นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใหม่ต่อตัวปัจเจกหรือหน่วยที่รับเอาสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ การรวมเอากิจกรรมที่นำไปสู่การแสวงหาความสำเร็จเชิงพาณิชย์ การสร้างตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม การนำนวัตกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อให้เป็นผู้นำในตลาดนั้นมีความเป็นไปได้ต่อทุกบริษัท ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบริษัทที่ผลิตสินค้าเท่านั้น แต่การบริการก็สามารถนำนวัตกรรมมาใช้ในการทำงานได้เช่นกัน นวัตกรรมมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แค่ให้องค์กรเป็นเจ้าแห่งตลาดเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงการพัฒนาของโลกที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่มวลมนุษยชาติ ซึ่งในการสร้างนวัตกรรมนั้นก็ไม่ง่าย และไม่ยากเกินความสามารถขึ้นอยู่กับว่าองค์กรจะใช้หลักใดในการบริหารทรัพยากรบุคคล และเงินให้มีคุณค่า ให้มีประโยชน์มากที่สุด ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะต้องแน่ใจกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมนั้น โดยจะต้องมีการ ออกแบบ วางแผน รวมถึงการควบคุมดูแล ให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด และเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งเราก็อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ทำให้เราระมัดระวังกับความเสี่ยงได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
The need for aligning technology with business
การดำเนินกิจการต่างๆในปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีขนาดองค์กรที่เล็กหรือใหญ่ ต่างล้วนมีความต้องการให้ธุรกิจของตนมีกำไร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่อยู่ในโลกใบเดียวกันได้อย่างยั่งยืน บางธุรกิจมีความโดดเด่นในเรื่องของ Cost leadership บางธุรกิจมีความแตกต่างของตัวสินค้าที่ไม่เหมือนใคร (differentiation) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร ที่จะจัดการเพื่อให้เกิด Competitive Advantage ของธุรกิจของตน แต่การจะทำให้ธุรกิจหนึ่งๆ ก้าวไปเหนือคู่แข่งนั้นสิ่งสำคัญที่หนีไม่พ้นคือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือเหมาะสมกับธุรกิจมาใช้เพื่อให้กระบวนการทำงานต่างๆภายในองค์กรดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตจากการใช้เวลาทำงานที่ลดลง, ลดปริมาณของเสีย, ลดการใช้แรงงานคน หรือเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้า/บริการ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระแสโลกาภิวัติของโลกในทุกวันนี้ ที่ทุกธุรกิจจำเป็นที่ต้องรู้จักกับคำว่า “เทคโนโลยี” ในขณะที่ธุรกิจต้องพยายามพัฒนาองค์กรให้ทันตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้ข้ากับธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง องค์ความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาปรับประยุกต์ แล้วนำมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งผลทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบจับต้องได้และจับต้องไม่ได้”
Dr. Nathasit Gedsri
เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ยาวนานต่อไปในอนาคต ดังนั้นจำเป็นที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีให้เป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานทุกๆอย่างในองค์กร ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี แต่เทคโนโลยียังมีความสัมพันธ์กับ Social, Ecological, Economic และ Political &Ethic อีกด้วย ทั้งนี้เมื่อพิจรณาโจทย์คำถามที่ว่า “อธิบายความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ” สามารถอธิบายได้ 2 มุมมอง โดยมุมมองแรกจะเป็นการเชื่อมโยงเทคเข้ากับ Value Chain ของธุรกิจ และมุมมองที่ 2 เป็นการเชื่อมโยง เข้ากับธุรกิจโดยใช้ Technology Roadmaps โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ ในมุมมองของ Value Chain
หากพิจารณาจากห่วงโซ่แห่งคุณค่า หรือ Value Chain ที่ประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ ภายในธุรกิจ ตั้งแต่การรับสินค้า จัดเก็บ ไปจนถึงการส่งสินค้าออกไปสู่ลูกค้า ในทุกๆกระบวนการทำงานจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการจัดการแทบทุกขั้นตอน โดยอาจมีความแตกต่างกันในรูปแบบการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแต่ละประเภทธุรกิจ ทั้งนี้ตัวอย่างด้านล่างจะเป็นฟังก์ชั่นของ Value Chain ที่เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมประเภทการพิมพ์โดยอธิบายว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในส่วนใด
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยี เข้ากับธุรกิจ ในมุมมองของ Technology Roadmapsในการดำเนินกิจการที่ดีเพื่อให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน นั้นธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ และเส้นทางเดินของตนเอง เพื่อให้เกิดภาพของแผนการดำเนินงานที่จับต้องได้ในระยะยาว หรือที่เรียกว่าการทำ Technology Roadmaps (TRM)
คำว่า Roadmaps หมายถึง “A roadmap is an extended look at the future of chosen field of inquiry composed from the collective knowledge and imagination of the brightest drivers of the change” หรือเป็นขบวนการวิเคราะห์ รวบรวมปัจจัยต่างๆ แล้ววิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจนั่นเอง
Robert Galvin
ส่วนคำว่า Technology Roadmaps (TRM) หรือ การทำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์กร หมายถึง “กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์ความเชื่อมโยง Business Strategy และ Technology Strategy เข้าไว้ด้วยกัน”
Dr. Nathasit Gedsri
โดยประโยชน์ของการทำ TRM จะเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Business Strategy เข้ากับ Technology Strategy และรวมถึงการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานของธุรกิจในแต่ละแผนก ในขณะเดียวกันการทำ TRM จะเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร ที่ให้ความสนใจในการนำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยี (TRM) เข้ามาใช้ประโยชน์ในการเชื่อมโยงของธุรกิจ ดังต่อไปนี้
1. Linking strategy to product plans and technology plans
2. Focusing on planning with priority setting
3. Enabling corporate/national-level technology plans
4. Increasing the potential for technology re-use
5. Leveraging the company’s existing technological strengths
6. Visualizing all concurrent programs
7. Reducing duplicate efforts
8. Aligning the appropriate resources with the business objective and strategic priorities
9. Improving communication and ownership of plans
ทั้งนี้การทำ TRM ที่เป็นการเขียนขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับธุรกิจในช่วงเวลาต่างๆ ถือเป็นความท้าทายต่อการเตรียมและจัดองค์กร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือกับแผนที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งสำคัญจะอยู่ที่เทคโนโลยีในด้านใดบ้างที่จะผูกโยงไปกับกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีไปตอบสนองต่อประเด็น หรือกลยุทธ์ เช่น
– การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนายาใหม่ เพื่อต่อสู้กับโรคติดต่อใหม่ การพัฒนายาใหม่นั้นต้องการความรู้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารสนเทศชีวภาพ (bioinformatics) ระบบฐานข้อมูลโมเลกุล (molecular database) แบบจำลองคอมพิวเตอร์ (computer modeling) การทำเหมืองข้อมูล (data mining) รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง (high performance computing) เพื่อช่วยในการคำนวณ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเข้าใจถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ต้องจัดเตรียมเพื่อการพัฒนายาตัวใหม่ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบความสามารถของแผนกต่างๆในองค์กร และเขียนเป็นขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้แต่ละแผนกทราบถึงสิ่งที่ตนเองจะต้องจัดทำ เพื่อให้บรรลุจุดมุมหมายเดียวกันคือการพัฒนายาใหม่ขององค์กร
จากการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจในมุมมองของ Value Chain และ Technology Roadmaps ตามที่ได้กล่าวมา อาจมีการนำเทคโนโลยีไปเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆเช่น การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับลูกค้า (CRM), การเชื่อมโยงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี และ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีไปเชื่อมโยงส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ธุรกิจ อาทิ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนตาบอด เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสีย ของการที่องค์กรสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
ข้อดีของการที่องค์กรสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
Discuss the differences on strategic focuses between radical and incremental innovation?
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิด การกระทํา หรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทํามาก่อนเลย หรือสิ่งใหม่ที่เคยทํามาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม โดยสามารถจำแนกประเภทของนวัตกรรมเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ Radical Innovation และ Incremental innovation นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) หรือเรียกได้อีกอย่างว่านวัตกรรมแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Innovation) หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value) ความเชื่อเดิม (belief) ตลอดจนระบบคุณค่า (value system) ของสังคมอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นอินเตอร์-เน็ท (Internet) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมและระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนไป ส่วนนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Incremental innovation) เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์และกระบวนการไปสู่รูปแบบใหม่อย่างเป็นลำดับขั้น เช่น การเพิ่มความจุของหน่วยความจำใน USB Disk ที่มากขึ้นและเล็กลงเรื่อย ๆ
ในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือ Innovation ขององค์กร ถ้าเปรียบเทียบถึงความเสี่ยงจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนานวัตกรรมแบบ Radical จะมีความเสี่ยงมากกว่า Incremental อย่างไรก็ตามผลตอบแทนที่ได้ย่อมมากกว่าเช่นกัน ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ นำไปซึ่งการพัฒนางค์กรและธุรกิจอย่างแท้จริง
ความหมายของนวัตกรรม (Innovation) Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคําว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทํา หรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่นๆ ของการยอมรับในสังคม (Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทํามาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทํามาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) หรือเรียกได้อีกอย่างว่านวัตกรรมแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Innovation) หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value) ความเชื่อเดิม (belief) ตลอดจนระบบคุณค่า (value system) ของสังคม อย่างสิ้นเชิง เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์และกระบวนการไปสู่รูปแบบใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการเดิมอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนแปลงไปตามการค้นพบ ซึ่งอาจจะไม่มีความต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ได้ การพัฒนาในรูปแบบนี้จะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูงทั้งจากการผลิต การทำ R&D การตลาด ความใหม่ของเทคโนโลยี โดยต้องใช้เวลาและการลงทุน เช่น การเปลี่ยนแปลงจาก Floppy Disk มาเป็น USB Disk (กมลภัทร บุญค้ำ, 2543) นอกจากนี้ นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) ยังได้รับการให้นิยามโดยผู้เชี่ยวชาญว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ลดต้นทุนการผลิตลงอย่างมาก อีกทั้งยังเพิ่มสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ขึ้นนับสิบเท่าหรือไม่ก็เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับความสามารถของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ภายใต้คำนิยามดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดเจนว่านวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนไม่สามารถได้มาง่ายๆ ตัวอย่างเช่นอินเตอร์-เน็ท (Internet) จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและสถานที่นั้นเปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ทเปิดโอกาสให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลอย่างไร้ขีดจำกัดทั้งในด้านของเวลาและระยะทาง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป
นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Incremental innovation) หมายถึง รูปแบบของการแข่งขันที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการปรับปรุงสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น โดยอาศัยความรู้ทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลัก (Core components) เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์และกระบวนการไปสู่รูปแบบใหม่อย่างเป็นลำดับขั้น หรือเปลี่ยนแปลงไปเพียงบางส่วนโดยมีการพัฒนามาจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์ๆ เช่น การเพิ่มความจุของหน่วยความจำใน USB Disk ที่มากขึ้นและเล็กลงเรื่อย ๆ
ตัวอย่างของ นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation)
3G เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดียและส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูง เป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย เนื่องจากเป็นการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่มิใช่เสียงพูด (Non-voice) สูงมากขึ้น เทคโนโลยี 3G มีการพัฒนาช่องสัญญาณความถี่และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเดิม รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่หลากหลายทั้งในด้าน Software Content และ Application ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
วิวัฒนาการของเทคโนโลยี 3G เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ทั้งในด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย และความพร้อมของตลาด ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันพัฒนาตลาดไปในทิศทางที่สมเหตุสมผลทั้งสำหรับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ดังนี้
ผู้ให้บริการ (Operator) ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างของเครือข่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่ายสัญญาณวิทยุมากขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายโดยรวม
- การลงทุนติดตั้งสถานีฐานขึ้นใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยี 3G
- การลงทุนกับ Software Upgrade เครือข่ายและอุปกรณ์รับส่งสัญญาณวิทยุ
- การลงทุนกับเครื่องโทรศัพท์ โดยมีการพัฒนาในส่วนของ Battery, หน่วยความจำ
ผู้ใช้บริการ (End User)
- การลงทุนซื้อเครื่องโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีของ 3G
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา การพัฒนาเทคโนโลยีของ 3G มีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ ทั้งทางด้านการลงทุนในการสร้างเครือข่าย การพัฒนา Software ควบคุมทั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณและรับสัญญาณ เป็นการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และกระบวนการจากรูปแบบเดิมไปสู่รูปแบบใหม่อย่างสิ้นเชิง ในด้านของผู้ใช้เองก็ยังต้องเปลี่ยนตัวโทรศัพท์มือถือเป็นรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ ซึ่งเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่สัมพันธ์กับรูปแบบของ นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง หรือ Radical Innovation
ตัวอย่างของ นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Incremental innovation)
นวัตกรรม (Innovation) ส่วนมากจะเป็นแบบ Incremental คือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยโดยเป็นการปรับปรุงระบบหรือกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น วินโดวส์ 98 ไป วินโดวส์ 2000 เป็นต้น จากการศึกษาของ Hollander’s famous study of Du Pont rayon plants พบว่าการเปลี่ยนแปลงแบบ incremental จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วฉับพลัน การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็น Platform หรือ Robust เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เกิดผลดีต่อองค์กรได้ เพราะหากได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น platform หรือเป็น family แล้ว การคิดค้นนวัตกรรมทีละเล็กทีละน้อยจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่อยู่ใน family นั้น ซึ่งเป็นการยืดระยะเวลาของช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การออกแบบ Robust design ของ Boeing airlines หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์จะเห็นได้ชัดเจน เช่น Intel มี 286, 386, 486, Pentium, Celeron, Centrino, Duo core เป็นต้น ชัดเจนมากที่สุดคือ Pentium 1-4 และ AMD เช่น Athlon และ Duron เป็นต้น ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือ Walkman ที่เป็นวิทยุขนาดพกพา เริ่มพัฒนามาจากระบบวิทยุและเทป และได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็น minidisk, CD, DVD และเครื่องเล่น MP3 ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีการพัฒนากระบวนการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากความคิดที่เป็น Platform ต้นแบบ
นอกจากนี้ยังมีการนำ Incremental Innovation มาใช้กับ culture ขององค์กร ตังอย่างเช่นบริษัทเครือซีเมนต์ไทย มีการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ปัจจุบัน ดัดแปลง หรือปรับปรุงโพรเซสให้ดีขึ้น ถ้าในแง่วัฒนธรรมองค์กร มี 4 เรื่องที่บริษัทเครือซีเมนต์ไทยพยายามสร้าง คือ Think Out of the Box (การคิดนอกกรอบให้ได้) Open-minded (การเปิดใจ รับฟังคนอื่น ให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา) Risk Taker (ความกล้าตัดสินใจ กล้าลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้) และ Personal Mastery (นิสัยหมั่นค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง) นอกจากนี้ เทคโนโลยีอินทราเน็ตถูกนำมาใช้ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยมีทีมรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับ Innovation รวบรวม Best Practice ขององค์กรต่างๆ รวมทั้งหนังสือดีๆ ก็ถูกจัดเป็น Book Briefing ไว้ในเว็บไซด์ เป็น e-learning สำหรับพนักงานทุกคน นอกเหนือจากการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน Innovation มาบรรยายอย่างต่อเนื่อง และมีการจัด Communication Package ใช้สื่อภายในองค์กรแบบดั้งเดิม ทำหนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ “Inno News” ส่งถึงพนักงานทุกคน
ในการสร้าง Innovation Culture ของเครือซิเมนต์ไทย เริ่มมาจาก Incremental innovation ซึ่งอยู่ในระดับกลาง เกิดจากการต่อยอดความคิดสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่ากว่าเดิม ซึ่งวิธีการที่นำมาใช้เป็นรูปแบบในการเรียนรู้ คือ ทำ E-Learning, Training มีการจัดค่ายให้กับนักศึกษาเพื่อทำการคัดเลือกบุคลากร เป็นต้น ส่วนในเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรม มีการตั้งเงินรางวัลที่ค่อนข้างสูง ซึ่งทางเครือเครือซิเมนต์ไทยได้นำหลักการและทฤษฎีต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว สร้างสรรค์กิจกรรมนำร่องและสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเกิดการคิดสร้างสรรค์จนเกิดนวัตกรรม ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจจนถึงในปัจจุบันและยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สรุป
ทุกวันนี้อุตสาหกรรมต่างๆ มุ่งที่จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้ครอบคลุมตลาดแบบ Global ในการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค ความไม่แน่นอนในแนวโน้ม (trend) ของ segment และตลาด แม้ว่าการพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เป็นการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังพัฒนานั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะมีผลกระทบกับสินค้าหรือบริการเดิมหรือไม่ นั่นคือความเสี่ยง แต่เมื่อหันมาพิจารณาหากเราต้องการที่จะพัฒนานวัตกรรมให้เป็นแบบ Radical แน่นอนว่ายิ่งจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าจะพัฒนาอะไรและจะมีผลกระทบ อย่างไรก็ตามการบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมีคำกล่าวว่า “เสี่ยงมาก ผลตอบแทนมาก” Hi Risk Hi return เพราะการที่หากมีนวัตกรรมที่เป็น Radical Innovation เกิดขึ้นจะสามารถครอบครองตลาดพร้อมทั้งดึงลูกค้าในตลาดเดิมมายังตลาดใหม่ได้ทั้งหมด เพราะหากมีทางเลือกสินค้าทดแทนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า (Substitution Goods) อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ใช้กล้องแบบฟิล์มไปใช้กล้องดิจิตอลทั่วโลก แน่นอนหากผู้นำตลาดกล้องฟิล์มไม่สามารถปรับตัวไปผลิต Radical อย่างกล้องดิจิตอลได้ เขาก็ไม่สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมกล้องถ่ายรูปได้อีกต่อไป ผู้ที่เลือกจะพัฒนา Radical อย่างกล้องดิจิตอลนอกจากเป็นผู้นำแล้วยังอาจครองตลาดได้ระยะยาวอีกด้วย
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551
Yahoo Search Engine
เอาหล่ะครับในที่สุดยักใหญ่อย่าง Yahoo ที่หยุดนิ่งอยู่นานเรื่องของ Search Engine คราวนี้กลยุทธ์ที่ให้ $30 เหรียญกับผู้สัมคร จะทำให้ Google กลัวได้หรือไม่ต้องติดตามครับ
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ทำเงิน ทำงาน กับวิธีหาเงิน
คือ แบบว่า ทุกคนคงเคยได้ยินการทำธุรกิจผ่านอินเตอร์เน็ตใช่ ปะ แต่ส่วนมาก 90%อะ มักจะหลอก หรือไม่ก็ไม่คุ้มค่าเหนื่อย แต่วันนี้ เรามีนวตกรรมใหม่ มานำเสนอ แอ่น แอน แอ๊น เพราะว่าตอนนี้ผมมีรายได้เข้ามาถึง 12,000 บาทแร้ว ด้วยเวลาในการทำเพียงสองเดือน ดังนี้ ใครต้องการ ลองดู ก็มานี่เลย เสียเวลาไม่กี่นาที ลองดู แล้วจะชอบ ลองอ่านดูนะ อาจจะเหมือนมันหลอกนะ แต่แบบว่า ได้เงินจริงมาแล้ว เลยบอกต่อจ้า เสียเวลานิดหน่อย แต่ค่าตอบแทนคุ้มมากไม่ขอบอกตัวเลข แต่บอกได้ว่า เลขมันมีห้าหลักนะจ๊ะ อิอิ เวปทำเงินของดูไบ สมัครฟรี รับเงินทันทีที่สมัคร ลองสมัครดูไม่เสียหายอะไร แถมได้ตังค์ใช้ฟรีๆ เป็นธุรกิจซึ่งเปิดตัวในวันที่ 31 ม.ค. นี้ โดยบริษัทจะให้เงิน 50 เหรียญสำหรับผู้ที่ สมัครเป็นสมาชิกเลยนะและถ้าเราแนะนำเพื่อนให้มาสมัคร เราได้ฟรีๆอีก 10 เหรียญน่าเชื่อถือตรงที่เราไม่ต้องเสี่ยงนำเลขบัญชีเรากรอกข้อมูลให้เค้า แต่เค้าจะส่ง บัตร ATM มาให้เราตามที่อยู่ที่เรากรอกไปพอเราได้รับบัตร ATM จากไปรษณีย์ เราก้อกดเงินใช้ได้เลย และก้อไม่ใช่ที่ให้คลิก banner ไรนั่นด้วยวิธีสมัครง่าย ๆ ในเมื่อไม่ต้องเสียอะไรทำไมไม่ลองดู
1. เข้าเว็บ http://www.earnmoney4you.dubaimlm.com
2. แล้วไป Register Now เมนูด้านล่างครับ 3. กรอกข้อมูลต่อไปนี้ เป็นภาษาอังกฤษนะ Sponsor ID: (มันมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ก็จะสมัครไม่ได้ครับ ที่นี่เค้าเข้มงวด ดี มากๆ)First Name: ชื่อจริง Last Name: นามสกุล Address 1: บ้านเลขที่, ถนน Address 2: ตำบล, อำเภอ City: จังหวัด State: ไม่ต้องใส่ Postal Code: รหัสไปรษณีย์ Country: Thailand Daytime Phone Number: หมายเลขโทรศัพท์เวลากลางวัน (ใส่แต่ตัวเลขนะ เช่น 0812345678) Phone Type: ประเภทโทรศัพท์ : ธุรกิจ/มือถือ/โทรสาร/บ้าน Nighttime Phone Number: หมายเลขโทรศัพท์เวลากลางคืน (ใส่แต่ตัวเลขนะ เช่น 0812345678) Phone Type: ประเภทโทรศัพท์ : ธุรกิจ/มือถือ/โทรสาร/บ้าน Email: อีเมล์ Confirm Email: ยืนยันอีเมล์ User Name: ชื่อในการ login ของเรา (6 - 16 ตัวเลขหรือตัวอักษร) Password: รหัสผ่าน (8 - 16 ตัวเลขหรือตัวอักษร) Confirm Password: ยืนยันรหัสผ่าน Website URL: XXXXX.dubaimlm.com ที่อยู่เว็บไซต์ (ตั้งชื่อเว็บไซต์ของเรา เอาไว้แนะนำเพื่อนๆ) Are you currently involved with any MLM Travel Program such as YTB or Your Travel Biz? เลือก NO Are you currently involved with any MLM Lead Program such as Just Sell Three? เลือก NO Please list up to 3 MLM you have been involved with. 1. ไม่ต้องกรอก 2. ไม่ต้องกรอก 3. ไม่ต้องกรอก 4. กด Continue ตรวจทานข้อมูล และ Continue ไปจนเสร็จทุกขั้นตอน 5. เอา username กับ password ที่ตั้งไว้ Login เข้าไปดูรายได้ ในช่อง Earning จะมีเงิน 50 เหรียญ 6. แต่ถ้าเราแนะนำเพื่อนให้กรอกข้อมูลแบบเรา เราก้อจะได้เพิ่มหัวละ 10 เหรียญทันที 7. เอาชื่อเว็บที่เราตั้งไว้ http://www.earnmoney4you.dubaimlm.com ไปแนะนำเพื่อนให้กรอกแบบสอบถามเหมือนเรา อ่อ : ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งให้ในอีเมล์ที่กรอก หลังสมัคร อาจอยู่ใน Junk mail.(อีเมล์ขยะ) ที่มาเบื้องต้นที่พอเข้าใจของธุรกิจนี้นะประเทศดูไบต้องการขยายธุรกิจไปสู่ทั่วโลก โดยเล็งเห็นว่าระบบที่ดีและรวดเร็วที่สุดคือ 1. อินเตอร์เน็ต 2. ธุรกิจเครือข่าย จึงได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แต่ถ้าทำการโฆษณาเว็บไซต์แบบทั่วไปจะช้ามาก เช่น ลงโฆษณากับเว็บดังๆ และการซื้อขายสินค้าแบบทั่วไปก็ไม่ยั่งยืน จึงมีการคิดระบบที่ทำให้ได้ผลดังนี้ 1. รวดเร็ว 2. มีประสิทธิภาพ 3. ผู้คนต้องการ ระบบการทำงานของเครือข่ายดูไบ ใช้ระบบการแนะนำต่อเป็นเครือข่ายแบบ Hi5 ขยายฐานสมาชิกออกไปเป็นทอดๆไม่สิ้นสุด โดยต่อสมาชิกแบบเครือข่าย 2 สายงาน โดยในเบื้องต้นสมาชิกที่สมัครใหม่จะต่อสายงานแนวดิ่งลงไปทั่วโลกคุณจะสร้างเครือข่ายที่มีสมาชิกจากทั่วโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทยนะ! แล้วก็เยอะมากและเร็วด้วยสิ! เป็นวินาที ตอนนี้สมัครฟรี คิดดูสิ ทั้งที่เราหลับหรือตื่นทีมงานจะช่วยกันสร้างรายได้มหาศาล เพียงคุณเริ่มลงมือ เดี๋ยวนี้ ทันที... ทำไมได้เงินง่ายขนาดนั้นล่ะ จะได้จริงหรอ? 1. ประเทศดูไบค้าน้ำมัน รวยนะ แทนที่จะจ่ายให้กับการโฆษณาแบบอื่น ก็จ่ายมาให้เราแทนถ้าเทียบกับการได้ลูกค้าสมาชิกจริงๆ ดีกว่าไปทำระบบอื่น แต่ได้แค่ตัวเลขหลอกๆ อย่างที่ผ่านๆมา คุณอาจเคยมีส่วนร่วมในกลโกงโดยไม่รู้ตัว เช่น แค่คลิ๊กก็ได้เงิน หลอกเอาค่าโฆษณาจากผู้สนับสนุนหรือเจ้าของธุรกิจที่มาลงโฆษณากับเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งคุณเองก็ไม่คิดจะอ่านหรือสนใจในข้อความโฆษณานั้นจริงๆเลย...ถ้าคุณเป็นนักธุรกิจ...คุณจะยอมจ่ายไหมกับฐานลูกค้าสมาชิกตัวจริง แน่นอนซึ่งจะถูกกรองจากอีเมลปลอมอีกที! 2. อีเบย์ คือคู่ค้าของเครือข่ายดูไบ น่าจับตามอง ทุกคนรู้จักอีเบย์ในฐานะแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า บนโลกอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุด แค่ลูกค้าเก่าๆของอีเบย์ เปลี่ยนที่ซื้อสินค้า มาซื้อผ่านระบบเครือข่าย คุณได้ส่วนแบ่งด้วย! 3. ผู้คนต้องการซื้อขาย ขยายช่องทางการตลาด คนเล่นเน็ตและกล้าซื้อของผ่านเน็ตมากขึ้น นี่คือแนวโน้ม และโอกาสที่คุณควร รีบคว้าไว้! จะได้เงินทางไหนล่ะ? เขาจะส่งบัตร ATM มาให้ตามที่อยู่ที่เรากรอกไป... แล้วเอามากดเงินได้ที่ตู้เอทีเอ็มบ้านเรา อย่าปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไป รีบตัดสินใจสมัครฟรีวันนี้ http://www.earnmoney4you.dubaimlm.com
วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551
เวปนี้เป็นเวปของประเทศอังกฤษนะครับ เหมาะสำหรับคนที่ชอบเสี่ยงดวง ไม่พูดมากครับเข้าไปดูทุกคนก็จะร้อง อ๋อ!! เองแหล่ะ :P
มารักษาสุขภาพกันเถอะ
ใครๆ เค้าก็ว่ากันว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ถ้าคนเราไม่ออกกำลังกาย ไม่ฉีดยาป้องกันวักซีน หรือไม่กินอาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพ ความมีโรค ก็ดูเหมือนจะรายล้อมอยู่ใกล้ตัว ถึงแม้วว่าเทคโนโลยี่ปัจจุบันจะไปใกลแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่คิดทำอะไรเพื่อสุขภาพ บางครั้งเทคโนโลยีก็คงช่วยอะไรเราไม่ได้มาก จริงมั้ยครับ
ผมไปเจอเวปนึงที่อเมริกาเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ แบบที่เราๆท่านๆรับประทานกันที่เมื่องไทย ด้วยราคาแพงแสนแพง (โดนค่านำเข้าไงหล่ะ) เงินมันก็ออกสู่ระบบ คือไปสู่ต่างประเทศอยู่ดี ส่วนเงินที่ไหลอยู่ในประเทศไทยก็พวกค่าส่วนต่างที่ร้านค้าคิดเพิ่มให้เรานั่นเอง หุหุ สำหรับคนที่สนใจ เข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้า สารอาหาร และข้อมูลอื่นๆ ได้จากเวปด้านล่างนี้นะครับ
ThermoSpas
เวปนะนำครับ อันนี้ไม่มีอะไรมากครับใครอยากได้อ่าง จากุชชี่ ก็สามารถเลือกแบบตามที่ตัวเองชอบได้ด้วย เดียวนี้เค้าต้องรับผลิตสินค้ากันอย่างนี้แล้วครับเนี่ย สนใจขอเอกสารฟรีได้ด้วยนะครับ
เข้าไปที่หน้าเวป แล้วก็


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันหยุดนี้ พาใครซักคนไปเที่ยวที่ไหนดี
วันหยุดที่จะถึงนี้ใครมีโปรแกรมไปเที่ยวไหนแล้วหรือยังครับ ส่วนผมก็คงใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยไม่ได้ไปไหนเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อนๆมีไอเดียอยากไปเที่ยวต่างประเทศ ก็นี่เลยครับ เวป Tripology ที่เป็นเวป Agency ในการหาสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก และการเดินทางให้กับเรา เพียงแค่เราแจ้งความประสงค์กับทาง Tripology เช่น ประเทศที่ต้องการไป วงเงิน รูปแบบการเดินทาง และระยะเวลาที่ต้องการพักผ่อน เป็นต้น
เพียงเท่านี้ทางเวป Tripology ก็จะจัดแจงดำเนินการหาข้อมูลการ เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวที่ดีที่สุด ให้กับเพื่อนๆครับ และที่ดีที่สุด ก็คือเราไม่ต้องเสียเงินซักบาทในการให้ทางเวปจัดหาแหล่งที่พัก แต่ถ้าใครสนใจโรงแรม หรือสถานที่ต่างๆที่ทางเวป Tripology จัดมาให้ก็ค่อยดำเนินการสั่งซื้อครับ ง่ายมากๆเลยใช่มั้ยหล่ะ คราวนี้เราอยากไปเที่ยวไหน หาข้อมูลไม่ได้ แต่เรายังมีผู้ช่วยอย่างเวป Tripology ที่คอยช่วยเหลือให้ข้อมูลการเดินทางครับ ย้ำอีกครั้งนะว่าของเค้าฟรีจิงๆ ^^
ส่วนใครสนใจก็คลิ๊ก Link เวป Tripology จากภาพด้านล่างได้เลยครับ
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เสื้อที่มีตัวเดียวในโลก
เดี๋ยวนี้ เทคโนโลยี ช่างก้าวหน้าจนเราเองตามกันไม่ค่อยทันซะแล้ว ช่วงนี้กำลังหาของขวัญให้เพื่อนอยู่ดูตามเวปไปเรื่อยๆ ก็ได้เจอกับสิ่งที่น่าตกใจ เมื่อเราสามารถผลิตเสื้อที่มีเพียงตัวเดียวในโลกได้ โดยไม่ซ้ำแบบใคร (คิดๆดูแล้ว ช่างน่าตื่นเต้น) ก็เลยเข้าไปคลิ๊กโน้นคลิ๊กนี้ เลือกแบบต่างๆนานา จนในที่สุดก็ได้เสื้อของตัวเองมาจนได้ ^^ (ของเพื่อนไว้ ค่อยสั่งใหม่)
จะไม่ให้เชื่อก็ต้องเชื่อหล่ะ ว่าใครเลยจะรู้ว่าเราสามารถเลือกรูปแบบเสื้อผ้าของเราได้เองจิงๆ ส่วนใครทีสนใจอยากรู้ว่าเทคโนโลยีของการผลิตเสื้อก้าวไกลไปถึงไหนแล้ว ลองเข้าไปดูกันได้จาก link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ แล้วคุณจะรู้ว่าโลกนี้ไปไวกว่าที่เราคิด ++
<<--- คลิ๊กที่รูปได้เลยจ้า
ส่วนเพื่อนๆคนไหน มีไอเดีย หรือความคิดสร้างสรร เวปนี้เค้าก็เปิดโอกาสให้ เพื่อนๆสร้างร้านค้า และก็ขายเสื้อที่เราออกแบบเองได้ด้วยนะ แต่วิธีการขายเนี่ยคงต้องไปศึกษากันเองนะครับ ใครสนใจอยากมีร้านก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับทางเวป ก่อนนะครับโดยปุ่มที่ให้สมัครก็ อยู่ทางด้านขวาบนของเวปนั่นเอง จากนั้นก็ใส่ e-mail ของเราเพื่อสมัคร เป็นอันเสร็จเรียบร้อย (สมัคตง่ายดีจัง ^^ )