วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
FeedBurner
สำหรับเพื่อนๆท่านใดที่มี Blog เป็นขอตัวเอง เดี๋ยวนี้ทาง Google เค้าร่วมมือกับ FeedBurner ที่จะทำให้มีโฆษณาของ กูเกิ้ลอยู่ใน Blog ของเพื่อนๆได้ ดังตัวอย่าง link ด้านล่างครับ
http://feeds2.feedburner.com/WealthWithRejuvenate
http://feeds2feeds2.feedburner.com/blogspot/locI
http://feeds2.feedburner.com/blogspot/WTWC
http://feeds2.feedburner.com/AffiliateMarketingReseller
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552
HOSTing โฮส โฮสติ้ง
ปัจจุบันการอินเตอร์เนท เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลก แต่ใครจะคิดบ้างว่าเว็บไซด์ต่างๆที่เราเยี่ยมชมนั่น จำเป็นจะต้องมีสถานที่จัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกว่า Host หรือบางท่านก็เรียกว่า Hosting นั่นเอง
แล้ว Host หรือ Hosting คืออะไรหละ?
จริงๆแล้วถ้าจะอธิบายกันอย่างละเอียดคงจะยาวหลายหน้า แต่โดยส่วนตัวผม ผมสรุปว่า Host หรือ Hosting ที่เรียกใช้กันอย่างแพร่หลาย ในฐานะของคนท่องเนตอย่างเรา มันก็คือ Harddisk ที่มี Floder เพื่อจัดเก็บข้อมูลนั่นเองแหละ เพียงแค่ Host หรือ Hosting นั้นมักจะมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเก็บข้อมูลก็เท่านั้นเอง ^^
ที่นี้สำหรับคนที่ส่งสัยว่า Host หรือ Hosting คืออะไรก็น่าจะพอจิตนาการออกบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เว็บห้องสมุด เพื่อข้อมูลการศึกษา
ปัจจุบันหากใครต้องการค้นหาข้อมูลเพื่อทำรายงานในวิชาต่างๆ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องค้นหาข้อมูลเหล่านั้นด้วย Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาต่างๆที่ได้จาก Google นี้ก็มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูลที่ค้นหา (ก็ยังดีกว่าไม่มี แหละ)
เดี๋ยวนี้เค้ามีเว็บไซด์นึงที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ โดยมองตนเองเป็นเหมือนดังห้องสมุด ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการข้อมูลที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาหลักเพื่อการทำรายงานที่มีประสิทธิภาพ หากใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปอ่านข้อมูลได้ที่เว็บ ด้านล่างได้เลยนะครับ ^^
วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Technology Today กับ RFID (3)
RFID เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า แท็กส์ (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต (Modulation) กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับ
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบ RFID กับระบบกับระบบบาร์โค้ด (Barcode System) และระบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card System)1. ระบบบาร์โค้ด (Barcode System): บาร์โค้ดจัดเป็นระบบ Automatic ID ที่ได้รับความนิยม และนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากต้นทุนต่ำ ดังนั้นจึงมีการนำมาประยุกต์เข้ากับงานหลายๆ ด้าน ผู้ใช้ยังคงที่จะต้องป้อนข้อมูล หรือมีโปรแกรมบางส่วนในการรองรับการทำงานกับระบบบาร์โค้ดนั้นๆ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วระบบบาร์โค้ดเป็นเพียงการนำเอาระบบ Automatic ID เข้ามาช่วยในการอินพุทข้อมูลเพื่อความรวดเร็ว และแม่นยำโดยใช้เวลาที่น้อยลง เป็นการทำงานแบบ Manual
ข้อจำกัดของบาร์โค้ด (Barcode System): จัดเก็บข้อมูลได้จำกัด เสียหายง่าย หรือมีปัญหาระหว่างการอ่าน เมื่อ บาร์โค้ดเลือนลาง เป็นต้น
2. ระบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card System): ส่วนระบบ Auto ID เป็นระบบที่อยู่ในรูปแบบบัตรต่างๆ โดยใช้หลักการเอาแถบแม่เหล็กหรือไมโครชิปในการอ่าน/เขียนข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้มาก มีความปลอดภัย
ข้อจำกัดของสมาร์ทการ์ด (Smart Card System): เนื่องจากเป็นแถบแม่เหล็กวิธีการอ่านข้อมูลจากสมาร์ทการ์ดจะต้องใช้วิธีสัมผัสทำให้เกิดการสึกหรอของเครื่องอ่าน
เราจึงได้มีการนำระบบ RFID มาใช้เพื่อขจัดปัญหาต่างๆ ที่เป็นข้อเสียของ 2 ระบบดังกล่าวนี้
3. ระบบ RFID : สำหรับ RFID tags หรือป้ายที่ติด RFID นั้นจะถูกออกแบบให้สามารถอ่านได้จากระยะห่างหลายเมตรโดยไม่ต้องนำมาวางไว้ใกล้กับเครื่องอ่าน และไม่ต้องวางให้ตรงกับหัวอ่าน RFID สามารถใช้ได้ระยะไกล (ประมาณ 20 ฟุต สำหรับอุปกรณ์ที่มีความถี่สูง) ถ้าสมมติว่าเรานำ RFID มาใช้แทนบาร์โค้ดเวลาซื้อของแล้ว สินค้าแต่ละชิ้นจะมี RFID กำกับอยู่ถ้าเราใส่ถุงแล้วเดินผ่านเครื่องอ่าน อุปกรณ์ก็จะทำการอ่านและคำนวณราคาของรายการสินค้าทั้งหมดให้ได้ทันทีเลย ซึ่งต่างจากการใช้บาร์โค้ดที่จะต้องอ่านทีละรายการ ดังนั้น RFID จึงต่างจากระบบอ่านข้อมูลอื่นเช่น Barcode หรือ Smart Card ตรงที่ระบบบันทึกข้อมูลอื่นต้อง “สัมผัส” แต่ RFID เป็น Contact less นอกจากนั้นตัว Tag ของระบบ RFID ที่ติดตามตัวสินค้าสามารถบรรจุ ไมโครชิพเพื่อเก็บข้อมูล มีหน่วยความจำมากกว่ารหัสแถบสี ของบาร์โค้ด จะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลสินค้าอื่น RFID นอกจากเก็บข้อมูลได้เยอะกว่า ป้องกันขโมยได้ และสามารถคิดเงินได้รวดเร็ว RFID จึงสามารถเข้ามาทดแทนเทคโนโลยีบาร์โค้ดได้ การใช้งานสามารถนำไปใช้ได้หลายลักษณะ
จุดเด่นของระบบ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลได้แบบไร้สาย ไร้แสง และไร้สัมผัส และสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิป
คุณลักษณะเด่นของระบบ RFID สามารถแบ่งได้เป็น 6 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ระบบการอ่านอัตโนมัติ (Automation reading without human intervention) ระบบนี้จะแตกต่างจากระบบบาร์โค้ด โดยไม่จำเป็นต้องใช้คนในการดำเนินการ หรืออยู่ในกระบวนการผลิต แต่ถ้าเป็นระบบ RFID เราสามารถประยุกต์กับตัวเซ็นเซอร์ในการอ่านหรือเขียนเข้าระบบอัตโนมัติ โดยจะลดปัญหาของคนดำเนินการ หรือความผิดพลาดจากคนได้
2. การอ่านเขียนแบบไม่มีการสัมผัส (Contact free reading) ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลจาก ID Tags สามารถทำได้เมื่อตัวควบคุม และ ID Tags อยู่ในระยะการสื่อสารซึ่งขึ้นอยู่กับสเป็คของแต่ละรุ่น
3. อ่านค่าจาก Tags หลายตัวในเวลาเดียวกัน (Multiple tags can be read simultaneously) การใช้งานระบบ RFID ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าใน Tags หลายตัวในเวลาเดียวกันได้ เพราะว่าระบบจะส่งคลื่นความถี่วิทยุออกไปอ่านค่าใน Tags จะใช้เวลาสั้นมากในการอ่านค่า และเก็บผลลัพธ์
4. สามารถจุข้อมูลขนาดใหญ่ได้ใน Tags (High capacity data Storage) เมื่อเปรียบเทียบกับบาร์โค้ดระบบ Tags ของ RFID สามารถเก็บได้มากกว่า 100 เท่า โดยจะอาศัยหน่วยความจำใน IC ที่บรรจุอยู่บน ID Tags
5. สามารถนำมาเขียนข้อมูลใหม่ได้ (Rewritable data) ข้อมูลที่บรรจุในชิพ IC บน ID Tags สามารถนำมาเขียนทับใหม่ได้ทำให้นำ ID Tags มาใช้งานซ้ำใหม่ได้
6. มีความทนทาน (Soil-resistant) ตัว ID Tags จะมีความทนทานต่อคราบสกปรก น้ำมัน และสารเคมี ความร้อน และสามารถสื่อสารได้แม้ว่าจะถูกคลุมด้วยคราบน้ำมัน หรือสิ่งสกปรก โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละรุ่นของตัวควบคุม
ข้อจำกัดของ RFID
1. การอ่าน Tag ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดอยู่ในเรื่องของเนื้อวัสดุคลื่นที่ใช้หากใช้กับสินค้าพวกเหล็กก็จะ block สัญญาณ หรือวัสดุบางประเภทก็จะดูดกลืนสัญญาณ อีกทั้งตำแหน่งการอ่านของ Reader นั้นยังมีผลอย่างมากต่อการใช้ RFID เช่น หากเอา Tag ติดที่ Pallet ก็จะต้องออกแบบ Reader แบบ Gate หรือไม่ก็เป็นแบบติดที่ Forklift หรืออาจเป็น Handheld ให้พนักงานได้ใช้ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นราคาก็สูงขึ้นตามศักยภาพด้วยการชนกันของเครื่องอ่านและป้ายชนกัน การชนกันของเครื่องอ่านเกิดขึ้นเมื่อสัญญาณจากเครื่องอ่านตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมีการซ้อนทับกันของสัญญาณ ป้ายจะไม่สามารถตอบสนองต่อการอ่านได้พร้อมๆ กัน ระบบจะต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่จะไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว ป้ายชนกันเกิดขึ้นเมื่อมีป้ายหลายๆ อันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แต่เนื่องจากการอ่านนั้นทำได้รวดเร็วจึงเป็นการง่ายที่ผู้ผลิตพัฒนาระบบที่แน่ใจได้ว่าป้ายจะตอบสนองต่อการอ่านทีละครั้ง
Technology Today กับ RFID (2)
องค์ประกอบของระบบ RFID
ส่วนแรก คือฉลากหรือป้ายขนาดเล็กที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุ เรียกว่า Tag หรือ Transponder
ทำหน้าที่ส่งสัญญาณหรือข้อมูลที่บันทึกอยู่ในแท็กส์ตอบสนองไปที่ตัวอ่านข้อมูล การสื่อสารระหว่างแท็กส์และตัวอ่านข้อมูลจะเป็นการสื่อสารกันโดยอาศัยช่องความถี่วิทยุผ่านอากาศ การเข้ารหัส (Crypts Unit) ส่วนตอบรับสัญญาณร้องขอ (Answer to Request) ส่วนควบคุมและประมวลผลทางคณิตศาสตร์ (Control & Arthritic Unit) ซึ่งแท็กส์อาจมีรูปร่างได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน โดยอาจมีรูปร่างเหมือนบัตรเครดิตในการใช้งานทั่วไป หรือเล็กขนาดไส้ดินสอ เพื่อฝังเข้าไปใต้ผิวหนังสัตว์ในกรณีนำไปใช้ในงานปศุสัตว์ ใช้ติดกับเครื่องจักรขณะทำการติดไว้กับสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วไปเพื่อป้องกันขโมย
นอกจากการแท็กแบ่งจากชนิดที่ว่ามาแล้วแท็กก็ยังถูกแบ่งประเภทจากรูปแบบในการใช้งานได้เป็น 3 แบบ คือ
1. แบบที่สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read-write)
2. แบบเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ (Write-One, Read-Many หรือ WORM)
3. แบบอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-Only)
ส่วนที่สอง ก็คืออุปกรณ์สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในแท็กส์ มีชื่อเรียกอย่างรวม ๆ ว่า ทรานสซิฟเวอร์ Reader หรือ Interrogatorหน้าที่สำคัญของตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ก็คือการรับข้อมูลที่ส่งมาจากแท็กส์ แล้วทำการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล และทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลผ่านเข้าสู่กระบวนการต่อไป ตัวอ่านข้อมูลที่ดีต้องมีความสามารถในการป้องกันการอ่านข้อมูล
Technology Today กับ RFID (1)
RFID (Radio Frequency Identification) คือ ระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งส่งกำลังด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แทนการสัมผัสทางกายภาพ โดยมีการคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระดับเดียวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ , อี-คอมเมิทสร์(e--commerce) หรือแม้กระทั่งระบบสื่อสารไร้สาย
RFID เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกรรมต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบกระบวนการผลิต บริหารเส้นทางการส่งสินค้า ไปจนถึงการดูแลร้านค้าปลีกไปจนถึงมือผู้บริโภค ผู้ที่สามารถควบคุมระบบขนส่ง(Logistic) และสายการผลิต (Supply chain) จะมีอิทธิพลต่อการค้ารูปแบบใหม่ เนื่องจากต่อไปเรื่องต้นทุน ,ความรวดเร็ว และความถูกต้อง จะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขัน และการอยู่รอดในตลาดโลก เนื่องจากสินค้าจะต้องสามารถตรวจสอบได้ถึงที่มา ทั้งกระบวนการผลิต ตลอดจนถึงวิธีการผลิต โดยไม่เว้นแม้แต่สินค้าการเกษตร เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่จะถูกส่งออกสู่ตลาดโลก จะต้องสามารถตรวจสอบถึงวิธีการเลี้ยง การให้วัคซีน การป้องกันโรคระบาด เพื่อผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและคุณภาพ
สิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่มาของสินค้า ผู้ผลิต สามารถบอกปลายทาง วันหมดอายุ ฯลฯ ทั้งหมดจะรวมอยู่ในเทคโนโลยีที่ถูกคาดการณ์ว่าเป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน นั่นคือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า "RFID"
โดยRFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตาม และบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนําไปฝังไว้ใน หรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตําแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อนทํางานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่าน และเขียนข้อมูลนั่นเอง